วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขื่อนสิริกิติ์


เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนสิริกิติ์
เขื่อนสิริกิติ์
ชื่อทางการเขื่อนสิริกิติ์
กั้นแม่น้ำน่าน
ที่ตั้งอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เริ่มต้นการก่อสร้าง27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514
วันที่เปิด4 มีนาคม พ.ศ. 2520
ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
Coordinates17°52′48″N 100°27′43″E / 17.88°N 100.462°Eพิกัดภูมิศาสตร์:17°52′48″N 100°27′43″E / 17.88°N 100.462°E
เขื่อนสิริกิติ์ หรือที่เรียกกันในชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา จัดเป็นเขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ กั้นแม่น้ำน่าน ที่ไหลลงมาจากอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เดิมอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงาน และมอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลต่อไป ทั้งนี้พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ประวัติ

เดิมเขื่อนนี้ เรียกชื่อว่า "เขื่อนผาซ่อม" ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนานนามว่า "เขื่อนสิริกิติ์" เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2515

[แก้]การก่อสร้าง

เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
การก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนตัวเขื่อนและองค์ประกอบ กับส่วนโรงไฟฟ้าและองค์ประกอบ
การก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและองค์ประกอบดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 ชุด กำลังผลิตชุดละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 375,000 กิโลวัตต์ โรงไฟฟ้าและองค์ประกอบได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2517 * ปัจจุบัน มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 4 ชุด กำลังผลิตชุดละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนสิริกิติ์ และโรงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2520 หลังจากงานก่อสร้างตัวเขื่อน และโรงไฟฟ้า เสร็จเรียบร้อยแล้วกรมชลประทาน ได้มอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รับผิดชอบในการควบคุมดูแลรักษา

[แก้]สถานที่สำคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวภายในเขื่อนสิริกิติ์

ตำหนักเขื่อนสิริกิติ์ เป็นสถานที่รับรองของพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ พระเจ้าแผ่นดิน และพระราชินี ในการแปรพระราชฐาน
  1. ตำหนักเขื่อนสิริกิติ์ เป็นตำหนักรับรองของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาแปรพระราชฐาน อยู่บริเวณจุดสูงสุดของเขื่อน เปิดให้นักท่องเที่ยวชมเฉพาะภายนอกเท่านั้น
  2. หมู่บ้านเรือ คือหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นโครงการหลวงที่จะช่วยเกษรกรด้านการประมง
  3. สวนสุมาลัย คือ สวนที่เขื่อนสิริกิติ์จัดตั้งขึ้นเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชันษา ครบ 50 พรรษา ภายในสวนมีประติมากรรมสู่แสงสว่างอันเป็นสัญลักษณ์ของสวนสุมาลัย
  4. พระธาตุกลางน้ำ ดอยพระธาตุ ศิลปะมอญตั้งเด่นอยู่บนเขาที่ล้อมรอบด้วยน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ เป็นโบราณสถานอันสำคัญชิ้นหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์
  5. สะพานเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ เป็นสะพานแขวน ด้วยสายเคเบิลสวยงามทอดกลางผ่านเขื่อนสิริกิติ์ มีลักษณะที่สวยงามและโดดเด่น
  6. พระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) จำลองมาจากพระพุทธรูปในจังหวัดยโสธรจำลองมาประดิษฐ์สถาน ณ เขื่อนแห่งนี้เพื่อให้คนได้เคารพบูชา
  7. สันเขื่อนสิริกิติ์ มีลักษณะเป็นโค้งเว้าที่สวยงามเหมาะแก่การชมทัศนียภาพในตอนเช้า
  8. ศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเขื่อนสิริกิติ์ จำหน่ายอาหารพื้นเมือง และของฝากจากเขื่อนสิริกิติ์

[แก้]ข้อมูลจำเพาะ

  • ชนิด หินทิ้งแกนดินเหนียว
  • ความสูง 113.60 เมตร
  • ความยาวที่สันเขื่อน 800.00 เมตร
  • ความกว้างที่สันเขื่อน 12.00 เมตร
  • ความกว้างที่ฐานเขื่อน 630.00 เมตร
  • ระดับที่สันเขื่อน 169.00 เมตร รทก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น